ดับความโกรธ ด้วยวิถีแห่งมหายาน
1. ลักษณะของผู้ที่กำลังโกรธ
1.1 เมื่อมีอารมณ์โกรธ ทุกคนย่อมคิดว่าตนเองนั้น ถูกต้องเสมอ ทุก ๆ คนต่าง
หยิบยกเหตุผลต่าง ๆ นานา มาสนับสนุนในสิ่งที่ตนเองคิดว่าถูก ไม่มีฝ่ายหนึ่ง
ฝ่ายใดยอมแพ้ แม้แต่ก้าวเดียว ซึ่งเป็นการเดินทางเข้าสู่ความเป็น “คนโง่” หรือ
ที่พระพยอมท่านว่า โกรธคือโง่ นั่นเอง
1.2 เมื่อมีความโกรธ จะทำให้ขาดสติ และถูกหลอกได้ง่าย เพราะคนที่โกรธจะ
ไม่ฟังใคร ยกเว้นคนที่คิดเหมือนกับตัวเอง ยิ่งมีกำลังเสริม ยิ่งฮึกโหม คิดว่าตน
เองนั้นถูกต้อง จึงถูกจูงจมูก และใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อย่างง่ายดาย
1.3 เมื่อมีความโกรธ จะมองโลกในแง่ร้าย ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ และคิด
ว่าปัญหาไม่สามารถแก้ไข หรือประนีประนอมได้ และมีแนวโน้มที่จะทำลายล้าง
มากกว่าสร้างสรรค์
1.4 เมื่อมีความโกรธ จะมีความคิดในแง่ลบ ผุดขึ้นมามากมาย ขุดทั้งเรื่องใน
ปัจจุบัน และเรื่องที่สะสมมาในอดีตมาป้ายสี ก่อให้เกิดอารมณ์ ที่รุนแรงมากขึ้น
เรื่อยๆ จนทำให้มองความจริง ไม่ตรงตามความเป็นจริง คำพูดจะบิดเบือน วาจา
จะก้าวร้าวรุนแรง มองไม่เห็นหัวคนอื่น เพราะคิดว่าตัวเองเท่านั้นที่ถูกต้อง
2. โทษภัยของอารมณ์โกรธ
บุญบารมีโชคลาภ วาสนา ความรู้สึกที่ดีต่อกัน และภาพพจน์ดี ๆ ที่เคยสั่งสมมา
ทั้งหมดจะสูญสลายไปในพริบตา บางครั้ง เสมือนทำให้แก้วเจียรนัย ราคาแพง
แตกร้าว ที่ยากจะเชื่อมประสานให้ดีดังเดิม โดยไม่มีรอยแตก จึงต้องระวังให้มาก
เพราะในขณะที่โกรธ ตัวเราจะขาดสติ คำพูดจะมีเสียงดัง จะเสียดแทงจิตใจ
แววตาจะดุร้าย กิริยาจะรุนแรง สูญเสียบุคลิกภาพ และทำเรื่องเล็ก ให้เป็นเรื่อง
ใหญ่ ปั้นน้ำเป็นตัว เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างศัตรู
โดยที่เราไม่รู้ตัว และหากถึงขั้นรุนแรง เป็นขั้นโมโห ก็จะมีการทำร้ายร่างกาย จะ
ยิ่งเป็นการสร้างกรรมเวรขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และที่สำคัญ เมื่อมีอารมณ์โกรธ ร่าง
กายจะปล่อยสารทำลายเนื้อเยื่อ และระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมได้
นอกจากนั้น การโมโหจนเป็นนิสัย จะเป็นการเติมเชื้อโทสะ ที่มีอยู่ในจิตใจ
ให้มีกำลังรุนแรง ทำให้มองความโกรธว่าเป็นเรื่องธรรมดา กิริยาจะก้าวร้าวจน
เป็นนิสัย มักชอบใช้ความรุนแรง เข้ายุติปัญหา ลูกหลานและคนรอบข้าง ก็จะติด
นิสัยไปด้วย สังคมจะมีแต่ความแตกแยก หาความสุขไม่ได้
3. วิธีระงับจัดการความโกรธ
3.1 นิ่งสงบ หยุดพูด หยุดหาเหตุผลมาปกป้องตัวเอง และตั้งใจฟังอีกฝ่ายว่า
อีกฝ่ายมีประเด็นอะไร สาเหตุที่อีกฝ่ายโกรธคืออะไร และตั้งใจมองอีกฝ่ายด้วย
ความเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจ ต่อความระทมทุกข์ ของอีกฝ่ายอย่างแท้จริง
(Compassionate listening) ขณะที่ฟัง ห้ามพูดโดยเด็ดขาด ยิ้มได้อย่างเดียว
3.2 รู้จักข่มใจ เช่น หายใจลึก ๆ หรือใช้ลิ้นดันเพดานในปาก เพื่อข่มความโกรธ เป็นต้น
3.3 เมื่อฟังอีกฝ่ายพูดจบแล้ว ถ้าจำเป็นต้องพูด ให้พูดเท่าที่จำเป็นด้วยวาจาที่
สุภาพ ไพเราะ นุ่มนวล และพูดเปี่ยมด้วยความรัก (Loving speech)
3.4 ไม่ควรหลงเชื่อคำพูดของอีกฝ่าย ที่พูดออกในขณะโกรธ เพราะเมื่อจิต
โกรธ ข้อมูลทั้งหลายจะบิดเบือน ไปได้ทั้งสิ้น ให้ฟังหูไว้หู ฟังอย่างเดียว ไม่
ต้องโต้เถียงหาข้อเท็จจริง
3.5 เมื่อรับฟังเสร็จแล้ว พูดเท่าที่จำเป็นแล้ว ให้หลบเลี่ยงออกจากสถานที่ และบุคคลนั้นๆ
3.6. มองปัญหาที่เกิดขึ้นในภาพรวม และแก้ไขปัญหาเป็นจุด ๆ ไป ไม่ทำเรื่อง
เล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ คันที่ไหน ให้เกาที่นั่น
3.7 ฝึกนิสัยที่จะไม่โกรธ ใครมาพูดจายั่วยุ เราจะไม่สนใจและเลิกใส่ใจ กับคนที่
ชอบนินทา หรือชอบหาเรื่องให้เรา
3.8 มองความรู้สึกของตัวเองอยู่ตลอดเวลา พร้อม ๆ กับการหายใจลึก ๆ เพื่อ
ให้รู้เท่าทันอารมณ์ จะได้ระงับความโกรธได้อย่างทันท่วงที เมื่อโกรธ รู้ว่ากำลัง
โกรธ โกรธเพราะอะไร ความโกรธหายไปเมื่อไร และสิ่งใด ทำให้เราหายโกรธได้
3.9 สร้างปัจจัยความสุขให้จิตใจมาก ๆ ทำจิตใจให้สบาย ๆ เช่น ออกกำลังกาย
จิตใจจะได้ไม่เครียด เป็นต้น ความสุขเหล่านี้จะไปทดแทนโทสะ ที่มีอยู่ในจิตใจได้
3.10 อย่ายึดมั่นถือมั่น ในความคิดทั้งหลายทั้งปวง เพราะสิ่งที่เราเห็นในขณะนี้
เป็นความจริงเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยใหม่เข้ามา สิ่งที่เราคิดว่าใช่
มันก็เปลี่ยนแปลง ไปได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น อย่าเชื่อนักในสิ่งที่เห็น และอย่าเชื่อ
นักในสิ่งที่ได้ยิน
ผู้ที่อยู่ในอารมณ์โกรธ เราสามารถเอาชนะได้ โดยให้ความรัก ความเมตตา
ความเข้าใจ และการให้อภัย จึงจะสลายความโกรธลงได้ อย่างไรก็ตาม
เมื่อมีเมตตาแล้ว ต้องไม่เดือนร้อนต่อตัวเอง และผู้อื่น จึงจะเรียกได้ว่า
ให้ความเมตตาอย่างแท้จริง...
1.1 เมื่อมีอารมณ์โกรธ ทุกคนย่อมคิดว่าตนเองนั้น ถูกต้องเสมอ ทุก ๆ คนต่าง
หยิบยกเหตุผลต่าง ๆ นานา มาสนับสนุนในสิ่งที่ตนเองคิดว่าถูก ไม่มีฝ่ายหนึ่ง
ฝ่ายใดยอมแพ้ แม้แต่ก้าวเดียว ซึ่งเป็นการเดินทางเข้าสู่ความเป็น “คนโง่” หรือ
ที่พระพยอมท่านว่า โกรธคือโง่ นั่นเอง
1.2 เมื่อมีความโกรธ จะทำให้ขาดสติ และถูกหลอกได้ง่าย เพราะคนที่โกรธจะ
ไม่ฟังใคร ยกเว้นคนที่คิดเหมือนกับตัวเอง ยิ่งมีกำลังเสริม ยิ่งฮึกโหม คิดว่าตน
เองนั้นถูกต้อง จึงถูกจูงจมูก และใช้เป็นเครื่องมือของฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด อย่างง่ายดาย
1.3 เมื่อมีความโกรธ จะมองโลกในแง่ร้าย ทำเรื่องเล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ และคิด
ว่าปัญหาไม่สามารถแก้ไข หรือประนีประนอมได้ และมีแนวโน้มที่จะทำลายล้าง
มากกว่าสร้างสรรค์
1.4 เมื่อมีความโกรธ จะมีความคิดในแง่ลบ ผุดขึ้นมามากมาย ขุดทั้งเรื่องใน
ปัจจุบัน และเรื่องที่สะสมมาในอดีตมาป้ายสี ก่อให้เกิดอารมณ์ ที่รุนแรงมากขึ้น
เรื่อยๆ จนทำให้มองความจริง ไม่ตรงตามความเป็นจริง คำพูดจะบิดเบือน วาจา
จะก้าวร้าวรุนแรง มองไม่เห็นหัวคนอื่น เพราะคิดว่าตัวเองเท่านั้นที่ถูกต้อง
2. โทษภัยของอารมณ์โกรธ
บุญบารมีโชคลาภ วาสนา ความรู้สึกที่ดีต่อกัน และภาพพจน์ดี ๆ ที่เคยสั่งสมมา
ทั้งหมดจะสูญสลายไปในพริบตา บางครั้ง เสมือนทำให้แก้วเจียรนัย ราคาแพง
แตกร้าว ที่ยากจะเชื่อมประสานให้ดีดังเดิม โดยไม่มีรอยแตก จึงต้องระวังให้มาก
เพราะในขณะที่โกรธ ตัวเราจะขาดสติ คำพูดจะมีเสียงดัง จะเสียดแทงจิตใจ
แววตาจะดุร้าย กิริยาจะรุนแรง สูญเสียบุคลิกภาพ และทำเรื่องเล็ก ให้เป็นเรื่อง
ใหญ่ ปั้นน้ำเป็นตัว เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของตัวเอง ซึ่งจะเป็นการสร้างศัตรู
โดยที่เราไม่รู้ตัว และหากถึงขั้นรุนแรง เป็นขั้นโมโห ก็จะมีการทำร้ายร่างกาย จะ
ยิ่งเป็นการสร้างกรรมเวรขึ้นอีกเป็นทวีคูณ และที่สำคัญ เมื่อมีอารมณ์โกรธ ร่าง
กายจะปล่อยสารทำลายเนื้อเยื่อ และระบบภูมิคุ้มกัน ทำให้สุขภาพเสื่อมโทรมได้
นอกจากนั้น การโมโหจนเป็นนิสัย จะเป็นการเติมเชื้อโทสะ ที่มีอยู่ในจิตใจ
ให้มีกำลังรุนแรง ทำให้มองความโกรธว่าเป็นเรื่องธรรมดา กิริยาจะก้าวร้าวจน
เป็นนิสัย มักชอบใช้ความรุนแรง เข้ายุติปัญหา ลูกหลานและคนรอบข้าง ก็จะติด
นิสัยไปด้วย สังคมจะมีแต่ความแตกแยก หาความสุขไม่ได้
3. วิธีระงับจัดการความโกรธ
3.1 นิ่งสงบ หยุดพูด หยุดหาเหตุผลมาปกป้องตัวเอง และตั้งใจฟังอีกฝ่ายว่า
อีกฝ่ายมีประเด็นอะไร สาเหตุที่อีกฝ่ายโกรธคืออะไร และตั้งใจมองอีกฝ่ายด้วย
ความเมตตา มีความเห็นอกเห็นใจ ต่อความระทมทุกข์ ของอีกฝ่ายอย่างแท้จริง
(Compassionate listening) ขณะที่ฟัง ห้ามพูดโดยเด็ดขาด ยิ้มได้อย่างเดียว
3.2 รู้จักข่มใจ เช่น หายใจลึก ๆ หรือใช้ลิ้นดันเพดานในปาก เพื่อข่มความโกรธ เป็นต้น
3.3 เมื่อฟังอีกฝ่ายพูดจบแล้ว ถ้าจำเป็นต้องพูด ให้พูดเท่าที่จำเป็นด้วยวาจาที่
สุภาพ ไพเราะ นุ่มนวล และพูดเปี่ยมด้วยความรัก (Loving speech)
3.4 ไม่ควรหลงเชื่อคำพูดของอีกฝ่าย ที่พูดออกในขณะโกรธ เพราะเมื่อจิต
โกรธ ข้อมูลทั้งหลายจะบิดเบือน ไปได้ทั้งสิ้น ให้ฟังหูไว้หู ฟังอย่างเดียว ไม่
ต้องโต้เถียงหาข้อเท็จจริง
3.5 เมื่อรับฟังเสร็จแล้ว พูดเท่าที่จำเป็นแล้ว ให้หลบเลี่ยงออกจากสถานที่ และบุคคลนั้นๆ
3.6. มองปัญหาที่เกิดขึ้นในภาพรวม และแก้ไขปัญหาเป็นจุด ๆ ไป ไม่ทำเรื่อง
เล็กให้เป็นเรื่องใหญ่ คันที่ไหน ให้เกาที่นั่น
3.7 ฝึกนิสัยที่จะไม่โกรธ ใครมาพูดจายั่วยุ เราจะไม่สนใจและเลิกใส่ใจ กับคนที่
ชอบนินทา หรือชอบหาเรื่องให้เรา
3.8 มองความรู้สึกของตัวเองอยู่ตลอดเวลา พร้อม ๆ กับการหายใจลึก ๆ เพื่อ
ให้รู้เท่าทันอารมณ์ จะได้ระงับความโกรธได้อย่างทันท่วงที เมื่อโกรธ รู้ว่ากำลัง
โกรธ โกรธเพราะอะไร ความโกรธหายไปเมื่อไร และสิ่งใด ทำให้เราหายโกรธได้
3.9 สร้างปัจจัยความสุขให้จิตใจมาก ๆ ทำจิตใจให้สบาย ๆ เช่น ออกกำลังกาย
จิตใจจะได้ไม่เครียด เป็นต้น ความสุขเหล่านี้จะไปทดแทนโทสะ ที่มีอยู่ในจิตใจได้
3.10 อย่ายึดมั่นถือมั่น ในความคิดทั้งหลายทั้งปวง เพราะสิ่งที่เราเห็นในขณะนี้
เป็นความจริงเพียงเสี้ยวเดียวเท่านั้น เมื่อมีเหตุปัจจัยใหม่เข้ามา สิ่งที่เราคิดว่าใช่
มันก็เปลี่ยนแปลง ไปได้เช่นเดียวกัน ฉะนั้น อย่าเชื่อนักในสิ่งที่เห็น และอย่าเชื่อ
นักในสิ่งที่ได้ยิน
ผู้ที่อยู่ในอารมณ์โกรธ เราสามารถเอาชนะได้ โดยให้ความรัก ความเมตตา
ความเข้าใจ และการให้อภัย จึงจะสลายความโกรธลงได้ อย่างไรก็ตาม
เมื่อมีเมตตาแล้ว ต้องไม่เดือนร้อนต่อตัวเอง และผู้อื่น จึงจะเรียกได้ว่า
ให้ความเมตตาอย่างแท้จริง...